ยินดีต้อบรับสู่โลกเยอรมันนี

ก้าวข้ามเวลา กับเรื่องราวในอดีต

ประวัติศาสตร์อันยาวนาน

เเละยังคงยืนหยัด ตระการมาถึงทุกวันนี้

เรื่องราวในอดีต

ที่จะเป็นทั้งบทเรียน เเละบทป้องกันไม่ให้อนาคตได้ทำผิดพลาดอีก

คน สัตว์ สิ่งของ

ยืนยันจากเหตุการณ์ ว่าไม่มีใครอยู่ค้ำฟ้า

วัฒนธรรม ความเป็นอยู่

คือสิ่งที่ต้องเรียนรู้ เพื่อให้อยู่รอดอย่างมีความสุข

วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

Posessessivpronomenจะเเสดงความเป็นเจ้าของอย่างไงดี


Posessessivpronomen

คือแกรมม่าที่บ่งบอกหรือแสดงความเป็นเจ้าของในประโยค ในขณะที่เราพูดหรือสนทนากัน ซึ่งสามารถทำหน้าที่เป็นกรรม

เป็นประธานของประโยค หรือใช้แทนคำนำหน้านามได้


Posessessivpronomen จะมีโครงสร้างที่ตายตัว และจะต้องดู Personalpronomen หรือคำแทนตัวด้วยว่า อยู่ในฟอร์มไหน โครงสร้างและการผันสามารถแจกแจงแบบละเอียดได้ดังนี้

Ich
Mas.
Fem.
Neu.
Pl.
Nom
mein
meine
mein
meine
Akk
meinen
meine
mein
meine
Dat
meinem
meiner
meinem
meinen
Gen
meines
meiner
meines
meiner




Du
Mas.
Fem.
Neu.
Pl.
Nom
dein
deine
dein
deine
Akk
deinen
deine
dein
deine
Dat
deinem
deiner
deinem
deinen
Gen
deines
deiner
deines
deiner




Er/Es
Mas.
Fem.
Neu.
Pl.
Nom
sein
seine
sein
seine
Akk
seinen
seine
sein
seine
Dat
seinem
seiner
seinem
seinen
Gen
seines
seiner
seines
seiner



sie
Mas.
Fem.
Neu.
Pl.
Nom
ihr
ihre
ihr
ihre
Akk
ihren
ihre
ihr
ihre
Dat
ihrem
ihrer
ihrem
ihren
Gen
ihres
ihrer
ihres
ihrer



Wir
Mas.
Fem.
Neu.
Pl.
Nom
unser
unsere
unser
unsere
Akk
unseren
unsere
unser
unsere
Dat
unserem
unserer
unserem
unseren
Gen
unseres
unserer
unseres
unserer



ihr
Mas.
Fem.
Neu.
Pl.
Nom
euer
euere
euer
euere
Akk
eueren
euere
euer
euere
Dat
euerem
euerer
euerem
eueren
Gen
eueres
euerer
eueres
euerer



Sie
Mas.
Fem.
Neu.
Pl.
Nom
ihr
ihre
ihr
ihre
Akk
ihren
ihre
ihr
ihre
Dat
ihrem
ihrer
ihrem
ihren
Gen
ihres
ihrer
ihres
ihrer

Mein/meine  ของฉัน

Dein/deine    ของเธอ

Sein/seine     ของเขา

Ihr/ihre          ของหล่อน

Unser/unsere   ของพวกเราทั้งหลาย

Euer/euere   ของพวกเขา ของพวกคุณทั้งหลาย

Ihr/ihre         ของคุณ ของท่าน ของท่านทั้งหลาย

จากโครงสร้างด้านบน เราสามารถทำความเข้าใจเองได้ด้วยการสังเกตคำสรรพนาม หรือบทสนทนาในแต่ละประโยค แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น Posessessivpronomen จะทำหน้าที่เป็นเจ้าของในบางสิ่งบางอย่างหรือบางสถานการณ์เสมอ

ตัวอย่างประโยค

ประโยคที่มี Posessessivpronomen รวมอยู่ในประโยค ซึ่งทุกคนสามารถสังเกตได้ว่า Posessessivpronomen จะทำหน้าที่เป็นได้ทั้ง คำนำหน้านาม ที่แสดงความเป็นเจ้าของในตำแหน่งที่หนึ่งหรือเป็นประธานของประโยค

Meine Mutter hat heute Geburstag

Dein Mann arbeite nicht mehr bei uns.

Sein Auto ist kaputt.

ihr Handy hat kein Akku mehr.

Unser Haus ist im moment leer.

Ihre Frau ist schoen.

ประโยคที่มี Posessessivpronomen ทำหน้าที่เป็นกรรมในประโยค แต่ก็ยังคงทำหน้าที่แสดงความเป็นเจ้าของอยู่เหมือนเดิม ซึ่งจะอยู่ในตำแหน่งที่สามของประโยคเสมอ ไม่ว่าจะเป็นประโยคคำถาม หรือประโยคบอกเล่าก็ตาม เช่น

Das ist mein Buch.

Ist das deine Frau?

Ist das sein Hund?

Das ist ihr Mann.

Sind das unsere Wohnung?

Das sind eueres Essen?

Ist das ihr Mann?

แหล่งอ้างอิง :ภาษามัน มันกับครูอ้อม  จุลสารชาวไทย ฉบับที่ 200 ปีที่ 18 กุมภาพันธ์ 2553 หน้า39






วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ล่มสลายกำเเพงเบอร์ลิน(ตอนที่3)

ตั้งเเต่ค.ศ.1980 ชาวเมืองไลพ์ซิก จัดการอธิษฐานร่วมกันเพื่อสันติภาพ เป็นครั้งเเรก ที่โบสถ์นิโคไล ทุกวันจันทร์ เพื่อให้หลุดพ้นจากการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ ในช่วงเดือนพฤศจิกายน มีการอธิษฐานต่อเนื่องกัน 10 วันเเละจัดเป็นประจำทุกปี จนโบสถ์เเห่งนี้กลายเป็นศูนย์รวมของการอธิษฐานเพื่อสันติภาพ จนกระทั่งช่วงเย็นของวันที่ 9 ตุลาคม ค.ศ.1989 หลังงานฉลองครบรอบ 40 ปี ประเทศเยอรมันตะวันออก เพียง 2 วัน ชาวเมืองได้ร่วมกันเดินขบวนเพื่อมาร่วมอธิษฐานที่โบสถ์เเห่งนี้
มีบาทหลวงคริสเตียน ฟืห์เรอร์ เป็นผู้นำจุดเทียนอธิษฐาน อย่างสันติ จนเเพร่หลายไปยังเบอร์ลิน เดรสเดน เเละเมืองอื่นๆเกิดเป็นคลื่นมหาชนที่มารวมตัวกัน เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้รัฐบาลได้รับความกดดันอย่างมาก
       ทั้งคลื่นประชาชน ที่หนีเข้ามาทางประเทศฮังการี ผ่านเข้าประเทศออสเตรีย จนมาถึงเยอรมันตะวันตก คลื่นลูกใหญ่ ล่าสุดคือหนีเข้ามาทางประเทศเชคโกสโลวาเกีย เเล้วพยายามเข้าไปในสถานฑูตเยอรมันมากขึ้น จากร้อยเป็นพัน เเออัดยัดเยียดกัน ราวกับคนหนีภัยสงคราม หน่วยกาชาดเเละองค์กรการกุศลต่างๆจึงยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ จนกระทั่ง ในวันที่ 30 กันยายน ค.ศ.1989 นาย ฮันส์ ดีทริค เกนเชอร์ รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศ ประกาศอนุญาตให้ทุกคนที่เข้ามาในสถานฑูต เดินทางเข้าไปอยู่ในเยอรมันตะวันตกได้ ประชาชนต่างโห่ร้อง เเสดงความยินดี รวมทั้งประชาชนเยอรมันตะวันตกเเละตะวันออก ที่นั่งอยู่หน้าจอโทรทัศน์ด้วย
      ตอนเย็นวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ.1989 เมื่อ นายกืนเตอร์ ชาโบว์สกี้( Günter Schabowski, 85 ขณะนั้นดำรงตำเเหน่งเลขาธิการเเละโฆษกของพรรคสังคมนิยม ซึ่งเทียบได้กับตำเเหน่งโฆษกของรัฐบาล)
เเถลงข่าวในรายการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ว่า รัฐบาลเยอรมันตะวันออกได้เปลี่ยนเเปลงนโยบาย เกี่ยวกับการเดินทางออกนอกประเทศ โดยยอมให้ประชาชนทุกคนสามารถขออนญาตเดินทางออกนอกประเทศได้อย่างไม่มีเงื่อนไขใดๆทั้งสิ้น นอกจากนี้ยังจะออกวีซ่าให้กับทุกคนที่ต้องการออกจากประเทศอย่างถาวร  เเละจะเพิกถอนออกจากประเทศอย่างถาวร เเละจะเพิกถอนการจำกัดการเดินทางข้ามพรมเเดนเยอรมันนีสองประเทศ
      มีนักข่าวชาวอิตาลีถามว่า มีผลใช้เมื่อไร เขาตอบว่า ทันที
      นี่เป็นสาเหตุให้เกิดคลื่นประชาชนเดินทางไปยังกำเเพงเบอร์ลิน จนไม่สามารถยับยั้งได้อีกต่อไป รัฐบาลจึงจำเป็นต้องประกาศเปิดกำเเพงในคืนนั้น(https://www.welt.de/geschichte/article123464220/Der-Mann-der-versehentlich-die-Mauer-oeffnete.html)
      มีการนำเหตุการณ์มาวิเคราะห์ ในภายหลังพอสรุปได้ว่า ตามปกติ นักการเมืองรัฐบาลคอมมิวนิสต์ จะให้นักข่าวเขียนคำถามส่งไปก่อนล่วงหน้า เพื่อเตรียมคำตอบก่อนที่จะให้นักข่าวสัมภาษณ์ เเต่ในวันนั้นเป็นการเเถลงข่าวสด เเล้วตามด้วยการตอบคำถาม โดยไม่ได้มีการเตรียมล่วงหน้า การที่นายชาโบว์สกี้ตอบออกมาว่า ทันที นี้ เป็นความเข้าใจผิดของเขาเอง เนื่องจากในช่วงนั้นเเรงกดดันของประชาชนต่อรัฐบาลสูงมาก ทั้งรัฐบาลเชคโกสโลวาเกีย ก็เร่งรัดให้เเก้ไขปัญหา ไม่เช่นนั้นจะทำการปิดเขตเเดน
ทำให้มีรัฐบาลเยอรมันตะวันออก เร่งการออกกฎระเบียบใหม่ เกี่ยวกับการออกนอกประเทศของประชาชน มีการประชุมเร่งด่วนของผู้นำทางเมืองหลายครั้ง รวมทั้งความบกพร่องของการสื่อสาร ภายในระบบราชการ ทำให้เกิดความสับสนอลหม่าน จนเกิดความเข้าใจผิด จึงนับว่าเป็นความบังเอิญ ที่ส่งผลให้เกิดการเปิดกำเเพง โดยไม่มีการเสียเลือดเนื้อของประชาชนเเต่อย่างใด เเละในที่สุดก็ลงเอยอย่างดีที่สุด คือการรวมประเทศ เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันนี ไม่มีเยอรมันตะวันตก เเละตะวันออกอีกต่อไป


เเหล่งข้อมูล: วิกิพีเดีย เยอรมันเเละไทย
หนังสืออ้างอิง Die Mauer Berlin 1961-1989
สำนักพิมพ์ Schikkus
จุลสารชาวไทย Schau-Thai ฉบับที่ 200 ปีที่ 18 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2553 หน้า28-29