มีบาทหลวงคริสเตียน ฟืห์เรอร์ เป็นผู้นำจุดเทียนอธิษฐาน อย่างสันติ จนเเพร่หลายไปยังเบอร์ลิน เดรสเดน เเละเมืองอื่นๆเกิดเป็นคลื่นมหาชนที่มารวมตัวกัน เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้รัฐบาลได้รับความกดดันอย่างมาก
ทั้งคลื่นประชาชน ที่หนีเข้ามาทางประเทศฮังการี ผ่านเข้าประเทศออสเตรีย จนมาถึงเยอรมันตะวันตก คลื่นลูกใหญ่ ล่าสุดคือหนีเข้ามาทางประเทศเชคโกสโลวาเกีย เเล้วพยายามเข้าไปในสถานฑูตเยอรมันมากขึ้น จากร้อยเป็นพัน เเออัดยัดเยียดกัน ราวกับคนหนีภัยสงคราม หน่วยกาชาดเเละองค์กรการกุศลต่างๆจึงยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ จนกระทั่ง ในวันที่ 30 กันยายน ค.ศ.1989 นาย ฮันส์ ดีทริค เกนเชอร์ รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศ ประกาศอนุญาตให้ทุกคนที่เข้ามาในสถานฑูต เดินทางเข้าไปอยู่ในเยอรมันตะวันตกได้ ประชาชนต่างโห่ร้อง เเสดงความยินดี รวมทั้งประชาชนเยอรมันตะวันตกเเละตะวันออก ที่นั่งอยู่หน้าจอโทรทัศน์ด้วย
ตอนเย็นวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ.1989 เมื่อ นายกืนเตอร์ ชาโบว์สกี้( Günter Schabowski, 85 ขณะนั้นดำรงตำเเหน่งเลขาธิการเเละโฆษกของพรรคสังคมนิยม ซึ่งเทียบได้กับตำเเหน่งโฆษกของรัฐบาล)
เเถลงข่าวในรายการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ว่า รัฐบาลเยอรมันตะวันออกได้เปลี่ยนเเปลงนโยบาย เกี่ยวกับการเดินทางออกนอกประเทศ โดยยอมให้ประชาชนทุกคนสามารถขออนญาตเดินทางออกนอกประเทศได้อย่างไม่มีเงื่อนไขใดๆทั้งสิ้น นอกจากนี้ยังจะออกวีซ่าให้กับทุกคนที่ต้องการออกจากประเทศอย่างถาวร เเละจะเพิกถอนออกจากประเทศอย่างถาวร เเละจะเพิกถอนการจำกัดการเดินทางข้ามพรมเเดนเยอรมันนีสองประเทศ
มีนักข่าวชาวอิตาลีถามว่า มีผลใช้เมื่อไร เขาตอบว่า ทันที
นี่เป็นสาเหตุให้เกิดคลื่นประชาชนเดินทางไปยังกำเเพงเบอร์ลิน จนไม่สามารถยับยั้งได้อีกต่อไป รัฐบาลจึงจำเป็นต้องประกาศเปิดกำเเพงในคืนนั้น(https://www.welt.de/geschichte/article123464220/Der-Mann-der-versehentlich-die-Mauer-oeffnete.html)
มีการนำเหตุการณ์มาวิเคราะห์ ในภายหลังพอสรุปได้ว่า ตามปกติ นักการเมืองรัฐบาลคอมมิวนิสต์ จะให้นักข่าวเขียนคำถามส่งไปก่อนล่วงหน้า เพื่อเตรียมคำตอบก่อนที่จะให้นักข่าวสัมภาษณ์ เเต่ในวันนั้นเป็นการเเถลงข่าวสด เเล้วตามด้วยการตอบคำถาม โดยไม่ได้มีการเตรียมล่วงหน้า การที่นายชาโบว์สกี้ตอบออกมาว่า ทันที นี้ เป็นความเข้าใจผิดของเขาเอง เนื่องจากในช่วงนั้นเเรงกดดันของประชาชนต่อรัฐบาลสูงมาก ทั้งรัฐบาลเชคโกสโลวาเกีย ก็เร่งรัดให้เเก้ไขปัญหา ไม่เช่นนั้นจะทำการปิดเขตเเดน
ทำให้มีรัฐบาลเยอรมันตะวันออก เร่งการออกกฎระเบียบใหม่ เกี่ยวกับการออกนอกประเทศของประชาชน มีการประชุมเร่งด่วนของผู้นำทางเมืองหลายครั้ง รวมทั้งความบกพร่องของการสื่อสาร ภายในระบบราชการ ทำให้เกิดความสับสนอลหม่าน จนเกิดความเข้าใจผิด จึงนับว่าเป็นความบังเอิญ ที่ส่งผลให้เกิดการเปิดกำเเพง โดยไม่มีการเสียเลือดเนื้อของประชาชนเเต่อย่างใด เเละในที่สุดก็ลงเอยอย่างดีที่สุด คือการรวมประเทศ เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันนี ไม่มีเยอรมันตะวันตก เเละตะวันออกอีกต่อไป
เเหล่งข้อมูล: วิกิพีเดีย เยอรมันเเละไทย
หนังสืออ้างอิง Die Mauer Berlin 1961-1989
สำนักพิมพ์ Schikkus
จุลสารชาวไทย Schau-Thai ฉบับที่ 200 ปีที่ 18 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2553 หน้า28-29
0 comments:
แสดงความคิดเห็น