วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ก่อกำเนิดกำเเพงเบอร์ลิน(ตอนที่1)

อิสรภาพนั้นสำคัญ เเละยิ่งใหญ่เพียงใด
คงไม่มีตัวอย่างเหตุการณ์ใดที่ชัดเจน เท่ากับเหตุการณ์ถูกริดรอน อิสรภาพในเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่2 ในประเทศเยอรมันนีอีกเเล้ว ประวัติศาสตร์ เป็นเรื่องราวในอดีตที่เกิดขึ้นจริง เเละนำมาใช้เป็นข้อคิดใน ในการดำเนินชีวิต เเละปรับปรุง พัฒนา เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์นั้นๆขึ้นอีกในอนาคตได้อีก เพียงเเต่เราจะรู้จักปรับ เเละนำมันกลับมาใช้ หรือเลือกที่จะลืมเรื่องราว
เจ็บปวดในอดีต เเล้วปล่อยให้เหตุการณ์เหล่านั้น ย้อนกลับมาเกิดขึ้นอีก การเเกล้งลืม บางครั้งก็กลายเป็นการ เริ่มต้นสร้างอนาคตที่เจ็บปวดอีกครั้ง บทความนี้จะย้อนเหตุการณ์สำคัญในอดีตของประเทศเยอรมันนี หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อให้เห็นภาพ เเละเข้าใจว่าทำไมผู้คนจึงยอมเอาชีวิตเข้าเเลก เพื่อให้ได้มาซึ่งอิสรภาพอีกครั้ง
ความคิดเเปลกๆ ในการหาหนทาง เเละวิธีการหนีออกจากดินเเดนคอมมิวนิสต์
สงครามไม่ได้จบลง หลังการประกาศ เเต่ผลพวงหลังสงครามนั่นเเหละ คือความจริงที่ผู้เหลือรอด ต้องช่วยกันรับผิดชอบ เเละอยู่ให้ได้
     หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1939 -1945 ) ประเทศเยอรมัน เเบ่งออกเป็นสองประเทศ คือ เยอรมันตะวันออก
หรือสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมัน Deutsche Demokratische Republick เรียกชื่อย่อๆว่า DDR )
ปกครองโดยระบอบคอมมิวนิสต์ เเละเยอรมันตะวันตก หรือ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันนี้ Bundes Republik Deutschland  เรียกชื่อย่อว่า BRD ปกครองโดยระบอบประชาธิปไตย
    ประชาชนเยอรมัน ภายใต้การปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ ถูกจำกัดเสรีภาพ หากออกความคิดเห็นไปในเเนวทางที่ขัดกับรัฐบาล ก็จะถูกสายลับคอยจับตาดูความเคลื่อนไหว ซึ่งต่อมาเมื่อมีพยานหลักฐานก็จะถูกจับกุม ในฐานที่กระทำการเป็นภัยต่อชาติ บ้านเมือง คนที่มีญาติพี่น้องอยู่ทางเขตตะวันตก มักจะได้รับของกิน ของใช้ รวมทั้งเสื้อผ้า เด็กๆก็จะได้รับช๊อคโกเเล๊ต ที่ส่งไปให้ทางไปรษณีย์
   ยิ่งประชาชนอยู่ใต้ระบบการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ นานขึ้นเท่าไร ความกดดันก็ทวีขึ้นมากเท่านั้น จำนวนประชาชนที่พยายามหนีออกมาจากเขตตะวันออกจึงมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งๆที่เสี่ยงต่อชีวิต เเละการถูกจับกุม ซึ่งหมายถึงการสอบสวน ข่มขู่ เเละเเน่นอนว่าในการตัดสินคดี ข้อหากระทำการอันเป็นภัยต่อชาติบ้านเมือง ไม่มีใครคิดจะพึ่งพา หรือเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมได้ เพราะอยู่ใต้อำนาจของนักการเมือง

    อีกทั้งในด้านเศรษฐกิจ สิ่งเเวดล้อม ต่างๆเขตตะวันออกก็ด้อยกว่าตะวันตกมาก เเละนับวันความเเตกต่างก็จะมากขึ้นทุกที ทั้งรัฐบาลก็ไม่สามารถจะสร้างภาพปกปิดประชาชนได้อีกต่อไป เพราะการติดต่อ ส่งข่าวสารที่พัฒนาขึ้นทุกวันเช่นทางวิทยุเเละโทรทัศน์
      จนกระทั่งมีการเดินขบวนประท้วงรัฐบาล เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ.1953 เเต่ตอนนั้นทหารก็ทำการปราบปรามประชาชนได้
ด้วยความช่วยเหลือทางการทหารจากสหภาพ โซเวียตรัสเซีย มีประชาชนเสียชีวิต ได้รับบาดเจ็บเเละถูกจับเป็นจำนวนมาก
      รัฐบาลเผด็จการ คอมมิวนิสต์ ทราบดีถึงปัญหา ที่ประชาชนต้องการอิสรภาพในการเเสดงความคิดเห็น เเละการที่จะออกไปท่องเที่ยวในโลกกว้าง หรือจริงๆเเล้วได้กลับไปพบปะลูกหลาน ญาติพี่น้อง สามีหรือภรรยา ที่เยอรมันตะวันตก ยิ่งนับวัน คลื่นการหนีของประชาชนจากตะวันออกสู่ตะวัน ก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะที่กรุงเบอร์ลิน
      ตั้งเเต่ ค.ศ.1945 ถึง 1961 มีจำนวนผู้คนที่อพยพจากตะวันออกสู่ตะวันตก ถึง 3.6 ล้านคน
เฉพาะเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1960 ทำสถิติสูงสุดถึง 30,415 คน
      ด้วยเหตุนี้ ในวันที่ 13 สิงหาคม ค.ศ.1961 เพียงเวลาชั่วข้ามคืน กำเเพงเบอร์ลินก็ถูกสร้างขึ้น เริ่มจากการวางรั้วลวดหนามก่อน ไม่กี่วันก็ทุ่มกำลัง ทั้งตำรวจ ทหาร เเละคนทั่วไป รวมเเล้วกว่าหมื่นคน

ก่อกำเเพงกั้นเขตเเดนเสร็จคนที่เป็นเจ้าความคิดในการสร้างกำเเพงเบอร์ลิน ก็คือนาย Walter Ulbricht ผู้นำระดับสูงของพรรคคอมมิวนิสต์เยอรมันตะวันออก ที่ได้ไฟเขียวจากนาย Nikita Chrushtschow ผู้นำของโซเวียตฯ...
เเหล่งข้อมูล: วิกิพีเดีย เยอรมันเเละไทย
หนังสืออ้างอิง Die Mauer Berlin 1961-1989
สำนักพิมพ์ Schikkus
จุลสารชาวไทย Schau-Thai ฉบับที่ 200 ปีที่ 18 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2553 หน้า28-29




0 comments:

แสดงความคิดเห็น