วันจันทร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2567

การออกเสียงสระในภาษาเยอรมัน


 สระเบื้องต้นที่ควรทราบมี 5 เสียงคือ

a,e,i,o,u

1.     a เสียงนี้มีสองลักษณะ คือ อะ(Kurzes A- เสียงสั้น) หรือ  อา(Langes A-เสียงยาว)

    เมื่อไหร่จะออกเสียงสั้น หรือเสียงยาวให้สังเกตดังต่อไปนี้ เช่น

1.1    ออกเสียงยาว ให้เสังเกตการเขียนคำ ดังนี้

    คำที่เขียนด้วย a เช่น baden (บาเด็น)

    คำที่เขียนด้วย ah เช่น Bahn (บาห์น)

    คำที่เขียนด้วย aa เช่น Staat (ชทาท)

1.2 a ออกเสียงสั้น ให้สังเกตการเขียน ดังนี้

    หลัง a มีตัวสะกดเช่น

    Klasse (คลัสเซ)

    an (อัน)

    ab (อับ)

    das (ดัส)

เทคนิคการออกเสียง a  ทำลิ้นตรง เปิดขากรรไกรให้กว่าง เเล้วเปล่งเสียง อะ หรือ อา

2.     e เสียงนี้มีสามลักษณะคือ 

    เอะ (kurzes offenes E-เสียงเปิดสั้น)

    เอ (langes geschlossenes E-เสียงปิดยาว) 

เมื่อไรจะออกเสียง สั้นหรือเสียงยาวให้สังเกตดังต่อไปนี้ เช่น

2.1 e-เสียงเปิดสั้น ให้สังเกตการเขียนคำ ดังนี้

   - คำที่เขียนด้วย e เเล้วมีตัวสะกดเป็นอักษรเดี่ยวหรืออักษรคู่ เช่น stellen (สเท็ลเล็น),es (เอ็ส),wenn (เว็นน์)

    -คำที่เขียนด้วย ä  เเล้วมีตัวอักษร f เป็นตัวสะกด เช่น kräftig (เคร็ฟทิก)

2.2 e- เสียงเปิดยาว ให้สังเกตการเขียนคำ ดังนี้

    คำที่เขียนด้วย ä เเล้วมีตัวอักษร t เป็นตัวสะกดเช่น spät(สเพท)

    คำที่เขียนด้วย äh เช่น  zählen (เซเล็น)

2.3 e-เสียงเปิดยาว ให้สังเกตการเขียนคำ ดังนี้

    คำที่เขียนด้วยe เเล้วมี  g เป็นตัวสะกด เช่น Weg(เวก)

    คำที่เขียนด้วย ee เช่น Tee (เท),See (เซ)

    คำที่เขียนด้วย eh เช่น sehen (เซเฮ็น)

เทคนิคการออกเสียง e

กระดกปลายลิ้นเล็กน้อย เปิดขากรรไกร (ไม่กว้างเหมือนเสียง a) เเละสำหรับเสียง e- เสียงเปิดยาวให้เปิดขากรรไกรให้กว้างขึ้นอีกเล็กน้อย

3.    i เสียงนี้มีสองลักษณะคือ

    อิ(Kurzes i- เสียงสั้น) หรือ อี( Langes i-เสียงยาว)

เมื่อไหร่จะออกเสียง สั้นหรือเสียงยาวให้สังเกตดังต่อไปนี้ เช่น

3.1 i ออกเสียงยาว ให้เสังเกตการเขียนคำ ดังนี้

    คำที่เขียนด้วย i ไม่มีตัวสะกด เช่น Kino (คีโน)

    คำที่เชียนด้วย ie เช่น Sieben

    คำที่เขียนด้วย Ih เช่น Ihnen (อีเน็น)

    คำที่เขียนด้วย ichเช่น Beziehung (เบซีฮุ่ง)

3.2 i ออกเสียงสั้น ให้สังเกดการเขียน ดังนี้

    หลัง i มีตัวสะกด เช่น Bitte (บิทเท) in (อิน)  bis (บิส)

4.  O เสียงนี้มีสองลักษณะคือ

    โอะ (Kurzes O-เสียงสั้น ) หรือ โอ (Langes O-เสียงยาว)

เมื่อไหร่จะออกเสียงสั้น หรือเสียงยาว ให้สังเกตดังต่อไปนี้ เช่น

4.1 O (Langes O-เสียงยาว)

    คำที่เขียนด้วย O ไม่มีตัวสะกด เช่น Kino (คีโน)

    คำที่เขียนด้วย oh เช่น wohen (โวเน็น)

    คำที่เขียนด้วย oo เช่น Boot (โบท)

 4.2 (Kurzes O-เสียงสั้น ) ออกเสียงสั้น ให้สังเกตการเขียนดังนี้

    หลัง o มีตัวสะกดเดี่ยวหรือคู่ เช่น ob(อ๊บ) ,Otto (อ๊ทโท)

5. i เสียงนี้มีสองลักษณะคือ

5.1 u (Langes u-อู เสียงยาว)

    ไม่มีตัวสะกดหรือมีตัวสะกดเป็น ch เช่น Buch (บูค)

    คำที่เขียนด้วย uh เช่น Stuhl (สทูห์ล)

5.2 u (Kurzes u-อุ เสียงสั้น ) ออกเสียงสั้นให้สังเกตการเขียนดังนี้

    หลัง o มีตัวสะกดเดี่ยว หรือคู่ เช่น Suppe (ซุพเพ)





    



0 comments:

แสดงความคิดเห็น