ยินดีต้อบรับสู่โลกเยอรมันนี

ก้าวข้ามเวลา กับเรื่องราวในอดีต

ประวัติศาสตร์อันยาวนาน

เเละยังคงยืนหยัด ตระการมาถึงทุกวันนี้

เรื่องราวในอดีต

ที่จะเป็นทั้งบทเรียน เเละบทป้องกันไม่ให้อนาคตได้ทำผิดพลาดอีก

คน สัตว์ สิ่งของ

ยืนยันจากเหตุการณ์ ว่าไม่มีใครอยู่ค้ำฟ้า

วัฒนธรรม ความเป็นอยู่

คือสิ่งที่ต้องเรียนรู้ เพื่อให้อยู่รอดอย่างมีความสุข

วันเสาร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2567

โมสาร์ทตกจากสวรรค์ เพื่อนำของกำนัลมามอบเเก่ชาวโลก

   


 โวล์ฟกัง อมาเดอุส โมสาร์ท Wolfgang Amadeus Mozart เกิดที่เมืองซาลสบวร์ก ( Salzburg) ประเทศออสเตรีย เมื่องค.ศ. 1756 เป็นลูกของนักดนตรีชื่อ เลโอโปลด์ โมสาร์ท Leopold Mozart

    โมสาร์ทเป็นอัจฉริยะตั้งเเต่เด็ก เพียงเดินเตาะเเตะเขาก็เล่นเปียในเป็นเพลงได้เเล้ว เเต่เขียนโน้ตยังไม่เป็น บิดาจึงเป็นคนบันทึกโน้ตให้ ตอนอายุ 5 ขวบ โมสาร์ทเขียนโน้ตเอง ทำหมึกเลอะเทอะตามประสาเด็ก เเต่พอบิดาลองอ่านโน้ตดูก็พบว่าเป็นบทเพลงจริงๆเเละถามลูกชายว่าเป็นเพลงอะไร ลูกชายตอบว่าเป็น Concerto บิดาหันไปบอกกับเพื่อนนักดนตรีว่ายากอย่างนี้ใครจะเล่นได้ หนูน้อยโมสาร์ท เถึยงว่า Concerto ต้องยาก เเละคนเล่นจะต้องฝึกฝนอย่างดีจึงจะเล่นได้

    ตอนอายุ 6 ขวบ โมสาร์ทได้เข้าเฝ้าพระนางมาเรียเทเรซ่า ที่พระราชวังเชินบรุน (Schönbrun) เขาเกิดลื่นหกล้มบนพื้นที่ขัดเงาไว้อย่างดี เเละได้มีเจ้าหญิงน้อยๆราชธิดาของพระนางมาเรียฯ มาพยุงเขาให้ลุกขึ้น โมสาร์ทกล่าวขอบใจเจ้าหญิง เเละว่า เธอน่ารักมาก โตขึ้นฉันจะเเต่งงานกับเธอ เจ้าหญิงคนนั้นต่อมาคือ พระนางมารีอองตัวเเน๊ต พระมเหสีของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 เเห่งฝรั่งเศส

    วันหนึ่งบิดาเเละเพื่อนซ้อมดนตรีกัน โมสาร์ทในวัย 6 ขวบ ถือไวโอลินคันเล็กของตนมาเซ้าซี้ขอร่วมวงด้วย บิดาคิดว่าลูกคงเล่นไม่ได้เพราะยังไม่เคยเรียนการเล่นไวโอลิน จึงบอกให้เขาไปนั่งเล่นข้างๆเพื่อนซึ่งเล่นเเนวไวโอลินที่ 2 เเละกำชับให้ลูกเล่นเบาๆเพื่อที่จะได้ไม่รบกวนผู้ใหญ่ เเต่เมื่อได้ฟังสังครู่ บิดาจึงหยุดเล่นปล่อยให้โมสาร์ทเล่นเเทน ในที่สุดบิดาถึงกับน้ำตาไหลเมื่อได้ยินลูกเล่นได้ดีอย่างน่าอัศจรรย์

    อายุ 12 ขวบ เขาเเต่งอุปรากรได้สำเร็จจนกระทั่งโตเป็นหนุ่มอายุ 16 ปี จึงเลิกตระเวนทัวร์กลับมาเป็นนักดนตรีประจำราชสำนักตามรอยเท้าบิดา ช่วงนี้โมสาร์ทมีผลงานเพลมากมายหลายร้อยบท



    ช่วง 10 ปีสุดท้ายของชีวิตระหว่าง ค.ศ.1780-1791 โมสาร์ทใช้ชีวิตอยู่ที่กรุงเวียนนา เขาเริ่มต้นทำทุกอย่างในชีวิตอข่างรวดเร็วผิดมนุษย์ เหมือนกับจะหยั่งรู้ว่า อีกไม่ช้าไม่นานเขาต้องจากโลกนี้ไปเเล้ว

    ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1790 ขณะที่เขากำลังประพันธ์อุปรากรเรื่องสุดท้าย ขลุ่ยวิเศษ( Die Zauberflöt) มีชายลึกลับคนหนึ่งมาพบเเละจ้างให้เขาเเต่งเพลงสวดศพ (Requiem Mass) ให้กับผู้ที่ไม่ประสงค์จะเปิดเผยนามโดยไม่เกี่ยงงอนค่าจ้าง โมสาร์ทพยายามสืบว่าผู้ว่าจ้างนั้นเป็นใคร เเต่ไม่มีใครบอกได้ ต่อมาชายคนนั้นมาทวงถามความคืบหน้าของผลงาน เเละเเสดงความไม่พอใจเมื่อทราบว่างานยังไม่เสร็จ จึงเตือนโมสาร์ทว่า หมดเวลาของคุณเเล้ว หากเรื่องนี้เกิดขึ้นในขณะที่โมสาร์ทยังมีสุขภาพดี เขาคงจะเห็นเป็นเรื่องขบขัน หรืออาจคิดว่าเพื่อนเเกล้ง เเต่เผอิญช่วงนี้สุขภาพเริ่มทรุดโทรม เขาจึงจินตนาการว่าชายลึกลับนั้นเป็นตัวเเทนจากยมโลกส่งมาเพื่อให้เเต่งเพลงสำหรับงานศพของเขาเอง โมสาร์ท รู้สึกว่าตนคงมีชีวิตอยู่ได้อีกไม่นาน จึงทุ่มเทเวลาให้กับงานชิ้นนี้หามรุ่งหามค่ำ อาการป่วยทรุดหนักมากจนไม่สามารถสานต่อบทประพันธ์ให้สำเร็จลงได้ซึ่งเป็นที่น่าเศร้าสลดใจยิ่ง

    โมสาร์ทป่วยเเละเสียชีวิตลงเมื่อเดือนธันวาคม ค.ส. 1791 ด้วยวัยเพียง 35 ปี ศพของเขาถูกนำไปฝังรวมกับศพอื่นๆในหลุมเดียวกัน ณ สุสานเเห่งหนึ่ง ต่อมา Süssmazer ได้เเต่งเพลง Requiem Massจากต้นร่างของโมสาร์ทจบจบ

    ปัจจุบันนี้เป็นที่ทราบเเน่ชัดเเล้วว่า บุคคลที่ให้คนมาติดต่อจ้างโมสาร์ท คือ เคาน์วลเสก Walsegg ที่มีนิสัยชอบใช้บุรุษลึกลับจ้างให้นักเเต่งเพลง เเต่งเพลงประเภทต่างๆ เช่น Sonata,Concerto,Symphony ฯลฯ เเล้วนำผลงานเหล่านี้ไปพิมพ์ในนามของตน

    ในที่สุด Requiem Mass ก็ได้ใช้ในพิธีศพของโมสาร์ทจริงๆ เเละในงานศพของอีกหลายคน ที่สำคัญคือ ต่อมาอีกประมาณ 50ปี คือในเดือนตุลาคม ค.ศ.1849 บทประพันธ์อันงดงามนี้ได้ใช้ในพิธีศพอันยิ่งใหญ่ของ Frederic Chopin ณ โบสถ์Madeleine กลางกรุงปารีส

    โมสาร์ทเหมือนเทวดาตกจากสวรรค์มาเพียงชั่วครู่ชั่วยาม เเละได้นำเอาทิพย์สมบัติจากสวรรค์มาเป็นของขวัญฝากโลกมนุษย์จำนวนมากเเล้วสวรรค์ก็รีบมาตามตัวกลับไป

เเหล่งข้อมูล จุลสารชาวไทย ฉบับที่ 207ปีที่ 18

วันพฤหัสบดีที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2567

เห็บเยอรมัน ภัยร้ายเวลาเดินในสวน


Zecken หรือเห็บเยอรมัน

ภัยร้ายที่หลายคนไปเที่ยว หรืออาศัยอยู่เยอรมนีต้องระวัง เพราะพิษร้ายของสิ่งมีชีวิตเล็กๆนี้ ไม่ได้เล็กตามขนาดตัวของมันเลย จนมีเภสัชกรในเยอรมนีเตือนถึงภัย Zecken ที่บอกว่าอันตรายสาเหตุเนื่องจากการรายงานของสมาคมเภสัชกรท้องถิ่นที่ Ruhr ที่ระบุว่าจำนวน Zecke ในปีหลังๆเพิ่มมากขึ้นทุกที ระหว่างนี้ราวทุกๆ 3 ตัวมีโรคติดเชื้อ Borreliose เมื่อสิปปีก่อนยังเป็นทุก 1 ใน 10 ตัว เภสัชกรจึงเน้นให้เพิ่มความระมัดระวัง ตัวดูดเลือดขนาดเล็กนี้จะซุ่มตัวอยู่ในหญ้า พุ่มไม้ เฟิร์น หรือใต้ต้นไม้ในป่าที่ร่มรื่น ในสวนที่บ้านก็มีอันตรายจาก Zecken
สัตว์ตัวเล็กพวกนี้จะโจมตีเหยือจากกลิ่น พื้นที่ในร่างกายที่นิยมชมชอบเป็นพิเศษได้เเก่ส่วนที่อุ่น หรือเหงื่อออก เช่น ข้อพับเข่าหรือคอ การป้องกันการติดเชื้อที่ดีที่สุดจากการโดน Zecke กัดคือการป้องกันตัวไว้ก่อน ผู้ที่ไปเดินเล่นในป่าควรสวมรองเท้าปิด เเละสวมหมวก เครื่องเเต่งกายควรปกิดเเขนเเละขา

หลังการเดินเล่นควรสะบัดเสื้อผ้า เเละสำรวจเนื้อตัวหา Zecke มีข้อเเนะนำสำหรับผู้ที่ค้นพบตัวเห็บนี้คือ ควรใช้คีมพิเศษคีบทิ้งเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ หลังดึงทิ้งไปเเล้วควรสังเกตดูตำเเหน่งที่โดนกัดอย่างถี่ถ้วน หากหลังจากนั้นหรือในสัปดาห์ต่อไมามีรอยเเดงเป็นรูปวงเเหวน อาจะป็นข้อบ่งชี้ถึงการติดเชื้อ Borreliose เเละต้องไปพบเเพทย์ บ่อยครั้งที่ผู้ประสบเหตุจะบ่นเกี่ยวกับการปวดศรีษาะ เป็นไข้ เจ็บตามข้อ รวมทั้งต่อมน้ำเหลืองบวม หากไม่รักษา Borreliose หลังการติดเชื้อหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน อาจจนำไปสู่การทำลายประสาทได้ ตรงข้ามกับเชื้อ Meningoenzephaltis (FSME) ที่ถ่ายทอดจาก Zecke โดยเฉพาะในภาคใต้ของประเทศเยอรมนี ไม่มีวัคซีนต่อต้าน Borreliose ผู้ที่เดินทางไปยังท้องถิ่นที่มีความเสี่ยงเกี่ยวกับ FSME เเพทย์มัจะเเนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันทั้งเด็กเเละผู้ใหญ่ เพื่อให้เป็นการป้องกันล่วงหน้าไปก่อน หรือเพื่อความปลอดภัยหากเผลอ หรือไม่ได้ระวัง เเพทย์ได้เตือนว่า  FSME เป็นการติดเชื้อไวรัส ซึ่งในกรณีนี้ยาปฏิชีวนะจึงไม่ได้ผล

วันจันทร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2567

Sisi จักรพรรดินีผู้เลอโฉมเเห่งออสเตรีย

             


 เอลิซาเบธเเห่งออสเตรียผู้เลอโฉม หรือซิซี่( Sisi) เกิดเมื่อวันคริสต์มาสของปี 1837 ในเมืองมิวนิค เเคว้นบาวาเรีย เป็นธิดาของดยุคมักซิมิเลียน เเละมาเรีย ลูดวิก้าเเห่งบาวาเรีย เมื่อซิซี่ทรงเจริญวัยเป็นสาวสวย เธอก็ได้พบกับเจ้าชายฟรานซ์ โยเซฟเเห่งออสเตรียในเมืองอันสวยงามชื่อซาลส์คัมเเมร์กุท ซึ่งเเต่เดิมพระองค์ทรงหมายพระทัยว่าจะทรงอภิเษกกับเฮเลน ผู้เป็นพี่สาวของซิซี่ เเต่ด้วยความงามเเละสติปัญญาอันหลักเเหลมของเธอ เจ้าชายฟรานซ์ โยเซฟจึงตกลงพระทัยเเละอภิเษกกับซิซี่ในที่สุด  ซึ่งตอนนั้นเธอยังคงเป็นสาวน้อยมีอายุเพียง  15 ปีเท่านั้น ความมีเสน่ห์เเละความงามของเธอได้ทำให้ซิซี่ได้กลายเป็นเจ้าหญิงขวัญใจพสกนิกรชาวออสเตรีย ชีวิตของพระองค์เปรียบเสมือนกับนิยาย


เเต่หลังจากพระประสูติกาลของมกุฏราชกุมาร ก็ทรงเเยกพระองค์อยู่อย่างโดดเดี่ยวในปี1859ทรงทิ้งทั้งพระสวามีเเละพระราชโอรส,พระราชธิดาไปอยู่ในหลายๆที่ทั้งเมืองมาไดร่า,เกาะคอร์ฟู เเละในเมืองเวนิสเนื่องจากความเป็นคนฉลาด ทันสมัย สนใจในการเมือง เมื่อฮังการีต้องการก่อกบฎเพื่อเเยกตัวออกจากออสเตรีย ซิซี่ถูกคนวิกลจริตเเทงตายขณะไปท่องเที่ยวที่เมืองนีซทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศส

        เรื่องราวอันน่าประทับใจของซิซี่เเละจักรพรรดิหนุ่มได้ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์เมื่อหลายสิบปีก่อน โรมี่ ชไนเดอร์ รับบทเป็นซิซี่ ส่วนละครเพลงอีกเรื่องหนึ่ง ชื่อว่า "เอลิซาเบธ" ซึ่งเป็นเรื่องราวของพระองค์ก็ถูกสร้างขึ้นเเละเเสดงในกรุงเวียนนาติดต่อกันอยู่ 5 ปี เรียกนักท่องเที่ยวเข้ามายังดินเเดนเเห่งนี้ได้มาก


 

เเหล่งที่มา   หนังสือชาวไทย ฉบับที่ 157/ปีที่ 14

การออกเสียงสระในภาษาเยอรมัน


 สระเบื้องต้นที่ควรทราบมี 5 เสียงคือ

a,e,i,o,u

1.     a เสียงนี้มีสองลักษณะ คือ อะ(Kurzes A- เสียงสั้น) หรือ  อา(Langes A-เสียงยาว)

    เมื่อไหร่จะออกเสียงสั้น หรือเสียงยาวให้สังเกตดังต่อไปนี้ เช่น

1.1    ออกเสียงยาว ให้เสังเกตการเขียนคำ ดังนี้

    คำที่เขียนด้วย a เช่น baden (บาเด็น)

    คำที่เขียนด้วย ah เช่น Bahn (บาห์น)

    คำที่เขียนด้วย aa เช่น Staat (ชทาท)

1.2 a ออกเสียงสั้น ให้สังเกตการเขียน ดังนี้

    หลัง a มีตัวสะกดเช่น

    Klasse (คลัสเซ)

    an (อัน)

    ab (อับ)

    das (ดัส)

เทคนิคการออกเสียง a  ทำลิ้นตรง เปิดขากรรไกรให้กว่าง เเล้วเปล่งเสียง อะ หรือ อา

2.     e เสียงนี้มีสามลักษณะคือ 

    เอะ (kurzes offenes E-เสียงเปิดสั้น)

    เอ (langes geschlossenes E-เสียงปิดยาว) 

เมื่อไรจะออกเสียง สั้นหรือเสียงยาวให้สังเกตดังต่อไปนี้ เช่น

2.1 e-เสียงเปิดสั้น ให้สังเกตการเขียนคำ ดังนี้

   - คำที่เขียนด้วย e เเล้วมีตัวสะกดเป็นอักษรเดี่ยวหรืออักษรคู่ เช่น stellen (สเท็ลเล็น),es (เอ็ส),wenn (เว็นน์)

    -คำที่เขียนด้วย ä  เเล้วมีตัวอักษร f เป็นตัวสะกด เช่น kräftig (เคร็ฟทิก)

2.2 e- เสียงเปิดยาว ให้สังเกตการเขียนคำ ดังนี้

    คำที่เขียนด้วย ä เเล้วมีตัวอักษร t เป็นตัวสะกดเช่น spät(สเพท)

    คำที่เขียนด้วย äh เช่น  zählen (เซเล็น)

2.3 e-เสียงเปิดยาว ให้สังเกตการเขียนคำ ดังนี้

    คำที่เขียนด้วยe เเล้วมี  g เป็นตัวสะกด เช่น Weg(เวก)

    คำที่เขียนด้วย ee เช่น Tee (เท),See (เซ)

    คำที่เขียนด้วย eh เช่น sehen (เซเฮ็น)

เทคนิคการออกเสียง e

กระดกปลายลิ้นเล็กน้อย เปิดขากรรไกร (ไม่กว้างเหมือนเสียง a) เเละสำหรับเสียง e- เสียงเปิดยาวให้เปิดขากรรไกรให้กว้างขึ้นอีกเล็กน้อย

3.    i เสียงนี้มีสองลักษณะคือ

    อิ(Kurzes i- เสียงสั้น) หรือ อี( Langes i-เสียงยาว)

เมื่อไหร่จะออกเสียง สั้นหรือเสียงยาวให้สังเกตดังต่อไปนี้ เช่น

3.1 i ออกเสียงยาว ให้เสังเกตการเขียนคำ ดังนี้

    คำที่เขียนด้วย i ไม่มีตัวสะกด เช่น Kino (คีโน)

    คำที่เชียนด้วย ie เช่น Sieben

    คำที่เขียนด้วย Ih เช่น Ihnen (อีเน็น)

    คำที่เขียนด้วย ichเช่น Beziehung (เบซีฮุ่ง)

3.2 i ออกเสียงสั้น ให้สังเกดการเขียน ดังนี้

    หลัง i มีตัวสะกด เช่น Bitte (บิทเท) in (อิน)  bis (บิส)

4.  O เสียงนี้มีสองลักษณะคือ

    โอะ (Kurzes O-เสียงสั้น ) หรือ โอ (Langes O-เสียงยาว)

เมื่อไหร่จะออกเสียงสั้น หรือเสียงยาว ให้สังเกตดังต่อไปนี้ เช่น

4.1 O (Langes O-เสียงยาว)

    คำที่เขียนด้วย O ไม่มีตัวสะกด เช่น Kino (คีโน)

    คำที่เขียนด้วย oh เช่น wohen (โวเน็น)

    คำที่เขียนด้วย oo เช่น Boot (โบท)

 4.2 (Kurzes O-เสียงสั้น ) ออกเสียงสั้น ให้สังเกตการเขียนดังนี้

    หลัง o มีตัวสะกดเดี่ยวหรือคู่ เช่น ob(อ๊บ) ,Otto (อ๊ทโท)

5. i เสียงนี้มีสองลักษณะคือ

5.1 u (Langes u-อู เสียงยาว)

    ไม่มีตัวสะกดหรือมีตัวสะกดเป็น ch เช่น Buch (บูค)

    คำที่เขียนด้วย uh เช่น Stuhl (สทูห์ล)

5.2 u (Kurzes u-อุ เสียงสั้น ) ออกเสียงสั้นให้สังเกตการเขียนดังนี้

    หลัง o มีตัวสะกดเดี่ยว หรือคู่ เช่น Suppe (ซุพเพ)